คอมพิวเตอร์ส่วนบุคล
องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
หมายถึง
สิ่งที่มองเห็นและจับต้องสัมผัสได้ทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์
ไม่ว่าจะเป็นตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ (Case) เมนบอร์ด (Mainboard)
และอุปกรณ์ต่อพ่วงรอบข้าง (Peripheral) ที่เกี่ยวข้อง
เช่น ฮาร์ดดิสก์ แป้นพิมพ์ เม้าส์ หน่วยประมวลผลกลาง จอภาพ เครื่องพิมพ์
และอุปกรณ์อื่น ๆ ฮาร์ดแวร์จะไม่สามารถทำงานด้วยตัวเองเดี่ยว ๆ ได้
จะต้องนำมาต่อเชื่อมเพื่อทำงานร่วมกันเป็นระบบที่เรียกว่า "ระบบคอมพิวเตอร์ (Computer
System)" ที่มีโครงสร้างของระบบจะทำงานตามโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้น
2. ซอฟต์แวร์ (Software)
หมายถึง โปรแกรม (Program) หรือชุดคำสั่งที่ควบคุมให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ
ซึ่งคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ที่ประกอบออกมาจากโรงงานจะยังไม่สามารถทำงานได้ในทันที
ต้องมีซอฟต์แวร์ซึ่งเป็นโปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่สั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงานตามต้องการได้
โดยโปรแกรมหรือชุดคำสั่งนั้นจะเขียนจากภาษาต่าง ๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้น เรียกว่า
ภาษาคอมพิวเตอร์ (Programming Language) ภาษาใดภาษาหนึ่ง
ซอฟต์แวร์ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1) ซอฟต์แวร์ระบบ (System
Software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่จัดการและควบคุม ทรัพยากรต่าง ๆ
ของคอมพิวเตอร์ และอำนวยความสะดวกด้านเครื่องมือสำหรับการทำงานพื้นฐานต่าง ๆ
ตั้งแต่ผู้ใช้เริ่มเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ การทำงานจะเป็นไปตามชุดคำสั่งที่เขียนขึ้น
ตลอดจนควบคุมการสื่อสารข้อมูลในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
2) ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application
Software) หมายถึง ซอฟต์แวร์ที่สร้างหรือพัฒนาขึ้น
เพื่อใช้งานด้านใดด้านหนึ่งโดยเฉพาะตามที่ผู้ใช้ต้องการ เช่น
งานด้านการจัดทำเอกสาร การทำบัญชี การจัดเก็บข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนงานด้านอื่น ๆ
ตามแต่ผู้ใช้ต้องการ
3. ข้อมูล/สารสนเทศ (Data/Information)
คือ ข้อมูลต่างๆ ที่เรานำมาให้คอมพิวเตอร์ทำการประมวลผลคำนวณ
หรือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งให้ได้มาเป็นผลลัพธ์ที่เราต้องการ ยกตัวอย่างเช่น
ข้อมูลบุคลากรเกี่ยวกับรายละเอียดประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษาหรือ
ประวัติการทำงาน ซึ่งอาจนำมาจำแนกเป็นรายงานต่างๆ เกี่ยวกับบุคลากรในหน่วยงานได้
หรือข้อมูลเกี่ยวกับตัวเลขมาตรๆ ไฟฟ้าของบ้านแต่ละหลัง
ก็ใช้สำหรับคำนวณเป็นปริมาณไฟฟ้า ที่ใช้ในแต่ละเดือน แล้วคิดเป็นเงิน
ที่จะต้องชำระให้กับการไฟฟ้าฯ
4. บุคคลากร (Peopleware)
คือ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานต่างๆ
และผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในหน่วยงานนั้นๆ บุคลากรด้านคอมพิวเตอร์นั้น
มีความสำคัญมาก เพราะการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานต่างๆ นั้นจะต้องมีการจัดเตรียมเปลี่ยนระบบ
จัดเตรียมโปรแกรมดำเนินการต่างๆ หลายอย่าง ซึ่งไม่สามารถทำด้วยตัวเองได้
ถ้าหากไม่ใช่ผู้ที่รู้เรื่องคอมพิวเตอร์มากนัก เราจึงถือว่าบุคลากร
เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของ ระบบคอมพิวเตอร์ด้วย ซึ่งสามารถสรุปเป็นประเภทใหญ่ ๆ
ได้ดังนี้
- เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ
(Operator)
- บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับระบบ
(System)
- ผู้จัดการศูนย์ประมวลผลคอมพิวเตอร์
(Electronic Data Processing Manager)
- ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ (Computer
user)
5. กระบวนการทำงาน (Documentation/Procedure)
เป็นขั้นตอนการทำงานเพื่อให้ได้ ผลลัพธ์หรือข้อสนเทศจากคอมพิวเตอร์
ในการทำงานกับคอมพิวเตอร์จำเป็นที่จะต้องให้ผู้ใช้เข้าใจขั้นตอนการทำงาน
ต้องมีระเบียบปฏิบัติให้เป็นแบบเดียวกัน
มีการจัดทำคู่มือการใช้คอมพิวเตอร์ให้ทุกคนเรียนรู้และใช้อ้างอิงได้
หลักการทำงานเบื้องต้นของคอมพิวเตอร์
หลักการทำงานเบื้องต้นของระบบคอมพิวเตอร์
เริ่มจากผู้ใช้ทำการ กรอกข้อมูลหรือคำสั่งผ่านทางอุปกรณ์รับข้อมูล (Input Devices) ซึ่งข้อมูลหรือคำสั่งต่างๆที่รับเข้ามาจะถูกนำไปเก็บไว้ที่หน่วยความจำหลัก
(Memory) จากนั้นก็จะถูกนำไปประมวลผลโดยหน่วยประมวลผลกลาง (Central
Processing) แล้วนำผลที่ได้จากการประมวลผลมาเก็บไว้ในหน่วยความจำแรม
พร้อมทั้งแสดงออกทางอุปกรณ์แสดงผล (Output Devices) ดังนั้นระบบคอมพิวเตอร์จึงประกอบด้วย
4 ส่วนด้วยกัน ได้แก่ ส่วนอุปกรณ์รับข้อมูล ส่วนประมวลผลกลาง
หน่วยความจำ และอุปกรณ์แสดงผล
คอมพิวเตอร์มีหลักการทำงานอยู่ 4 ขั้นตอน
รูปแสดงหลักการทำงานเบื้องต้นของคอมพิวเตอร์
1. รับข้อมูล
คอมพิวเตอร์จะรับข้อมูลและคำสั่งผ่านอุปกรณ์นำเข้าข้อมูลและคำสั่ง คือ คีย์บอร์ด
เมาส์ และสแกนเนอร์ เป็นต้น
รูปแสดงอุปกรณ์นำเข้าคำสั่งและข้อมูล
2. ประมวลผลข้อมูล หรือ CPU (Central Processing
Unit) ใช้คำนวณและประมวณผลคำสั่งต่างๆ ตามโปรแกรมที่กำหนด
รูปแสดงตัวประมวลผลหรือ CPU
3. จัดเก็บข้อมูล
คอมพิวเตอร์จะเก็บข้อมูลลงในอุปกรณ์ที่เก็บข้อมูล เพื่อให้สามารถนำมาใช้ใหม่ได้ในอนาคต
เช่น ฮาร์ดดิสก์ ดิสเกตด์ แผ่นซีดี และอุปกรณ์เก็บข้อมูลชนิดพอร์ตยูเอสบีไดร์
ซึ่งหน่วยเก็บข้อมวลนี้สามารถ
แบ่งออกได้ 2 ประเภท คือ
3.1 หน่วยควมจำหลัก
สามารถแบ่งตามลักษณะการเก็บข้อมูลได้ดังนี้คือ
(3.1.1) หน่วยความจำแบบลบเลือนได้ คือ
หากเกิดไฟดับระหว่างใช้งาน ข้อมูลจะหาย เรียกว่า แรม (RAM)
3.2 หน่วยความจำสำรอง คือ
หน่วยความจำที่ช่วยให้คอมพิวเตอร์สามารถเก็บข้อมูลได้มากขึ้น
ได้แก่ ฮาร์ดดิสก์ดิสเกตด์ แผ่นซีดีและอุปกรณ์เก็บข้อมูลชนิดพอร์ต
ยูเอสบี
รูปแสดงหน่วยความจำแรม
4. แสดงผลข้อมูล
เมื่อทำการประมวลผลแล้ว
คอมพิวเตอร์จะแสดงผลลัพธ์ผ่านอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แสดงข้อมูล เช่น
หากเป็นรูปภาพกราฟิกก็จะแสดงผลทางจอภาพ ถ้าเป็นงานเอกสารก็จะแสดงผลทางเครื่องพิมพ์
หรือหากเป็นในรูปแบบของเสียงก็จะแสดงผลออกทางลำโพง เป็นต้น
รูปแสดงอุปกรณ์นำเสนอผลลัพธ์
การเลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์
สำหรับผู้เริ่มใช้คอมพิวเตอร์
ไม่ควรซื้ออุปกรณ์มาประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์เอง ควรเลือกเครื่องคอมพิวเตอร์ที่จัดขายเป็นชุดให้แล้ว
และเลือกซื้อจากบริษัทที่เชื่อถือได้ เนื่องจากผู้ผลิตได้เลือกอุปกรณ์ต่าง ๆ
ที่เหมาะสมมาประกอบเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่แล้ว
สำหรับผู้ใช้ที่ต้องการเลือกซื้อชิ้นส่วนต่างๆ
มาประกอบเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ตามที่ต้องการ หรือเพื่อปรับปรุงอุปกรณ์บางอย่าง
เช่น ซีพียู เมนบอร์ด และแรม
อุปกรณ์เหล่านี้มีการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว
อธิบายขั้นตอนและวิธีการดูแลรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
การดูแลรักษา อายุการใช้งานของอุปกรณ์/ชิ้นส่วนต่างๆ ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์
1.ซีพียู (CPU: Central Processing Unit)
โดยปกติซีพียูเป็นอุปกรณ์/ชิ้นส่วนที่เสียหายยากมากจากการใช้งานปกติ
ซึ่งซีพียูอาจจะทำงานได้นานมากจนเราเลิกใช้เครื่องไปเลย
แต่ถ้าเราโชคร้ายโดยถูกผู้ผลิตนำซีพียูทีมีความเร็วต่ำมาหลอกขายว่าเป็นซีพียูความเร็ว
สูง (CPU Remark) หรือทำการ PUSH ให้ซีพียูทำงานเร็วกว่าความเร็วที่กำหนดให้
ทำให้อายุการใช้งานของซีพียูสั้นลงกว่าปกติ
อีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้อายุการใช้งานซีพียูสั้นลงก็คือ พัดลมระบายอากาศ (Ventilation Fan) ที่ติดตั้งอยู่ที่ชุดจ่ายไฟฟ้า (Power Supply) ของคอมพิวเตอร์เสีย
ทำให้ซีพียูต้องทำงานที่ความร้อนสูงตลอดเวลา
ถ้าซีพียูเสียก็ต้องซื้อใหม่อย่างเดียว ไม่สามารถทำการซ่อมหรือแก้ไขได้
2.เมนบอร์ด (Mainboard or Motherboard)
เป็นอุปกรณ์ที่มี Chip ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์อื่นๆ
ของเครื่องคอมพิวเตอร์ และเป็นทั้งตัวรับและจ่ายไฟให้กับ
อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ บนเมนบอร์ด ซึ่งถ้ามีอุปกรณ์สำรองไฟฟ้า (UPS) ก็จะช่วยให้การทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นไปอย่างราบรื่นสม่ำเสมอ
และไม่ทำให้อุปกรณ์อื่นๆ ชำรุดเสียหาย ในกรณีที่เกิดไฟตกไฟกระชากอีกด้วย
3.จอภาพ (Monitor)
จอภาพโดยทั่วไปมักจะมีอายุการใช้งานประมาณส่วนใหญ่ ประมาณ 1-3 ปี เนื่องจากหลอดภาพของแต่ละรุ่นยี่ห้อนั้น จะมีคุณภาพแตกต่างกันไปตาม
แต่ละบริษัทผู้ผลิต ไม่ควรตั้งจอไว้ใกล้บริเวณที่มีสนามแม่เหล็กมากจนเกินไป
และไม่ควรเช็ดหน้าจอด้วยน้ำยาหรือสารอย่างอื่นๆ ที่ไม่ได้ระบุไว้สำหรับทำความสะอาดจอภาพนั้น
4.การ์ดแสดงผล (Display Card)
โดยทั่วไปการใช้งานในช่วง 1 ปีแรก มักจะไม่ค่อยมีปัญหา
ส่วนใหญ่จะใช้งานไปได้ถึง 3 ปี โดยไม่มีปัญหาอะไร
แต่ถ้าเราเลือกใช้การ์ดแสดงผลราคาถูก ก็อาจจะมีปัญหาบ้าง ในปีแรก แต่ก็ไม่มากนัก แต่ถ้าเป็นการ์ดแสดงผลยี่ห้อดังๆ
จากอเมริกาที่มีราคาแพง จะมีความเร็วในการแสดงผลสูง มีลูกเล่นมากกว่า
และมีการออกไดรเวอร์ออกมาอย่างต่อเนื่อง
5.เมาส์ (Mouse) เป็นอุปกรณ์ Input ที่ใช้สำหรับป้อนข้อมูลคำสั่งเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์
ภายในเม้าส์ จะประกอบไปด้วยลูกกลิ้งและฟันเฟือง ซึ่งสามารถถอดออกมาและทำความสะอาด
เนื่องจากลูกกลิ้งจะสะสมเอาสิ่งสกปรกต่างๆ ไว้ภายในเม้าส ทำให้ลูกกลิ้งไม่สามารถที่จะเคลื่อนที่ไปได้โดยอิสระ
6.แป้นพิมพ์ (Keyboard)
การป้อนข้อมูลจำนวนมากทุกวัน หรือเอาแป้นพิมพ์ไปใช้เล่นเกมส์
จะพบว่าปุ่มบางปุ่มจะเสียตั้งแต่ยังไม่ครบปี
อายุการใช้งานของแป้นพิมพ์จะผ่านปีแรกและปีที่สองไปได้ อย่างสบาย
แต่ถ้าแป้นพิมพ์เกิดเสียหลังจากปีแรก ซึ่งเลยระยะรับประกันแล้ว ไม่ควรซ่อม
ให้ซื้อใหม่จะดีกว่า
7.ฮาร์ดดิสก์ (Harddisk)
ฮาร์ดดิสก์เป็นหน่วยความจำสำรอง
หรือสื่อบันทึกข้อมูลภายนอกที่มีความจุสูง ฮาร์ดดิสก์จะถูก
ซึ่งเมื่อฮาร์ดดิสก์เสีย ก็ต้องส่งไปซ่อมกับร้านที่ซื้อมา
โดยทั่วไปฮาร์ดดิสก์จะมีอายุการใช้งานอย่างต่ำ 3 ปี
แต่อย่างไรก็ตาม ฮาร์ดดิสก์ก็อาจจะเสียได้ตลอดเวลา ดังนั้น
เราควรสำรองข้อมูลในฮาร์ดดิสก์เอาไว้อย่างสม่ำเสมอ เพื่อเวลาที่ฮาร์ดิสก์เสีย
ข้อมูลก็จะยังไม่สูญหายไป ข้อควรระวังก็คือ ในเรื่องของไฟตกไฟชากซึ่งจะมีผลต่อ Harddisk อาจทำให้เกิดความเสียหายได้
8.ดิสก์ไดร์ฟ (Disk Drive)
ดิสก์ไดร์ฟ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้อ่านและเขียนข้อมูลลงในแผ่นฟลอปปีดิสก์
ซึ่งดิสก์ไดร์ฟก็มีหลายชนิดแต่ในปัจจุบันเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วๆไปมักจะใช้ดิสก์ไดร์ฟขนาด
3.5 นิ้ว การใช้งานดิสก์ไดร์ฟโดยทั่วไปไม่ค่อยมีปัญหาเท่าไรนัก
ถ้าผ่านปีแรกไปซื้อเปลี่ยนใหม่ เพราะถ้าซ่อมจะไม่คุ้มค่า เพราะราคาดิสก์ไดร็ฟในปัจจุบันมีราคาถูกมาก
9.พัดลมระบายความร้อน
การเลือกใช้พัดลมระบายความร้อนต้องพยายามใช้ของดีมียี่ห้อ
เพราะถ้าพัดลมระบายความร้อนเสีย จะทำให้ซีพียูร้อนจัด ทำให้เครื่องเกิดอาการแฮงก์
(Hang) โดยไม่ทราบสาเหตุ
และทำให้อายุการใช้งานของซีพียูสั้นลง ถ้าพัดลมระบายความร้อนเสียต้องเปลี่ยนอย่างเดียว
10.ซีดีรอมไดร์ฟ (CD-Rom Drive)
ใช้น้ำยาทำความสะอาดสำหรับเครื่องคอมฯ เช็ด บริเวณด้านนอก
โดยอาจใช้พู่กันเล็กๆ ช่วยในการปัดฝุ่นออกเสียก่อน
จากนั้นจึงใช้น้ำยาทำความสะอาดเช็คเครื่องคอมฯ ข้อควรระวัง! โดยปกติน้ำยาเหล่านี้
ห้ามเช็คหน้าจอ ถ้ามีฝุ่นหรือคราบนิ้วมือ ให้ใช้ผ้าสะอาดเช็ดก็เพียงพอแล้ว (ทิป
น้ำยาทำความสะอาด โดยทั่วไป การใช้ควรใส่น้ำยาบนผ้าที่สะอาด
จากนั้นลูบไปบริเวณตัวเครื่อง ทิ้งไว้สักพัก และค่อยเช็ดออก
จะช่วยลดแรงในการขัดได้มาก)
การทำความสะอาดภายในเครื่องคอมพิวเตอร์
สำรองข้อมูล
เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาของคอมพิวเตอร์ ที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกขณะ
การสำรองข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยลดปัญหาของคุณได้มากทีเดียว
การสำรองข้อมูลอาจสำรองลงแผ่น ดิสก์, ซีดี
หรืออาจแบ่ง partition ในฮาร์ดดิกส์
แล้วทำรองไว้ ทั้งนี้คงขึ้นกับกำลังเงินที่เรามีอยู่
ทำความสะอาดแผงวงจร
ปัญหาอย่างหนึ่งที่สำคัญที่ทำให้คอมพิวเตอร์เกิดเสียหายได้ นั่นคือ
ความชื้นและฝุ่นละอองที่เกาะตามอุปกรณ์ต่าง ๆ ดังนั้น
เราจึงควรทำความสะอาดบ้างอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
ทั้งนี้ขึ้นกับสถานที่ที่ติดตั้งคอมฯ
ว่าอยู่ในพื้นที่ที่มีฝุ่นละอองมากน้อยเพียงใด การทำความสะอาด
จำเป็นต้องต้องเปิดฝาเครื่อง จากนั้นให้ใช้เครื่องเป่าผม หรือเครื่องดูดฝุ่น
(ขนาดเล็ก) ใช้เป่า หรือดูดฝุ่นออกมา ระวังเวลาดูดหรือเปล่า
อย่าเข้าใกล้แผงวงจรมากนัก
อ้างอิง
http://guy-ict.blogspot.com/2012/08/3.html